หลายคนในแวดวงการลงทุนคงจะเคยได้ยินคำว่า Fixed Income หรือ การซื้อตราสารหนี้ กันมาบ้างแล้ว โดยตราสารหนี้ ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มันก็ยังต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนอยู่ดี

Fixed Income หรือ ตราสารหนี้ คือ อะไร

ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ให้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้สินทรัพย์ทางการเงินแก่ผู้ลงทุน ในรูปแบบของสัญญาทางการเงินระหว่างผู้ออกตราสารหนี้ และ ผู้ถือตราสารหนี้  โดยมีการ กำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอน มีการระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและ เงินต้นล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะชำระ ดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน หรือทุกๆ 6 เดือน ถ้าตราสารนั้นออกโดยภาครัฐก็ เรียกว่า พันธบัตร แต่ถ้าออกโดยภาคเอกชน ก็เรียกว่า หุ้นกู้

ดังนั้น การซื้อตราสารหนี้ นับเป็นทางเลือกของนักลงทุนที่ไม่ชอบเสี่ยงสูง แต่ได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี่ยังช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยผลตอบแทนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุของตราสารหนี้ รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้

ประเภทของตราสารหนี้

เนื่องจากประเภทของการซื้อตราสารหนี้นั้นมีความหลากหลาย จึงทำให้นักลงทุนก็ควรจะรู้จักประเภท ของการซื้อตราสารหนี้ เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการลงทุนทำกำไรที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ทางการเงินของตัวเอง ซึ่งตราสารหนี้ที่ขายในประเทศไทย หากแบ่งตามประเภทผู้ออกจะมี 2 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

1.  ตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond) หรือ “พันธบัตร” 

เป็นตราสารที่ รัฐบาล เป็นผู้ออกซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนด โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลังทั้งนี้ก็ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการออกพันธบัตรนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละวัตถุประสงค์ก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

- พันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน นำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ เป็นต้น

- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (Stage-Owned Enterprise Bonds) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก และมีการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังเพื่อนำมาลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

- พันธบัตรออมทรัพย์ (Government Saving Bond) ออกโดยกระทรวงการคลัง โดยมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน การซื้อตราสารหนี้ ประเภทพันธบัตรออมทรัพย์จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบคงที่ตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน

- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาเพื่อนำเงินไปใช้ดูแลสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

- ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills) เป็นตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมเงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ปกติจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนจะอยู่ในรูปของส่วนลด

2. ตราสารหนี้เอกชน (Corporate Bond) หรือ “หุ้นกู้” 

จะออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อระดมทุนในการขยายกิจการ ซึ่งต้นทุนทางการเงินของผู้ออกตราสารหนี้ มักจะถูกกว่าการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และส่วนใหญ่จะมีการกำหนดระยะเวลาการออก หรือหากไม่มีกำหนดระยะเวลาที่เรียกว่า “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” (Perpetual Bond)

จุดเด่นของการ ซื้อตราสารหนี้

ถึงแม้ว่าการซื้อตราสารหนี้จะมีหลากหลายประเภทให้นักลงทุนได้เลือกประเภทที่เหมาะสมกับแผนทางการเงินของตัวเอง แต่การซื้อตราสารหนี้แต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นร่วมกันอยู่ดังนี้

1. ตราสารหนี้เป็น การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ

2. ตราสารหนี้เป็น การลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีค่าเฉลี่ยของกำไรอยู่ที่ 2-5% ซึ่งมันสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปมากถึง 5 ถึง 10 เท่า

3. ตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน และสามารถเลือกตราสารหนี้ที่เหมาะกับระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมตามแผนการเงินของผู้ลงทุนได้

ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการลงทุน ซื้อตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงที่ต่ำและได้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถลงทุนได้โดยที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในตลาด ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาสิ่งที่ควรรู้และพึงระมัดระวังอย่างรอบคอบทุกครั้งก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยทาง บล.หยวนต้าเข้าใจตรงจุดนี้ของผู้ลงทุนมือใหม่ที่อยากลงทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทาง บล.หยวนต้ามีทั้งบริการที่จะช่วยให้การลงทุน ซื้อตราสารหนี้ ของผู้ลงทุนเป็นเรื่องง่าย ทั้งเครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัย ทั้งผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำกลยุทธ์การจัดพอร์ตที่ใช่ให้กับคุณ

หากมีความสนใจที่จะเริ่มต้นลงทุนและใช้บริการของทาง บล.หยวนต้าสามารถติดต่อเข้ามาเพื่อขอคำปรึกษาเบื้องต้นตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้ได้เลย

Call Center:           0 2009 8888

Online Service:    0 2009 8000